บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน: ทำอย่างไรให้การสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมได้อย่างมีความสุข ไม่เป็นเพียงแค่ฝันกลางวันของคนไทย [Part2/2]

RISE IMPACT
1 min readOct 9, 2023

--

ตอนที่ 1: บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน Part1/2

ถ้าจะสูงวัยในบ้านเดิมล่ะ เป็นไปได้ไหม?

“เกือบจะหมดหวังไปแล้ว”

“ดีมาก ปรับแล้วดีมากๆ เหมือนเกิดใหม่”

- คุณป้าสายลมกล่าว

นี่คือส่วนหนึ่งจากการพูดคุยในเรื่องการเข้ารับบริการปรับบ้านกับคุณป้าสายลม จากบทความสัมภาษณ์ ‘ผู้สูงอายุ กับการปรับสภาพบ้านที่สร้างชีวิตใหม่’ สะท้อนให้เห็นว่าการปรับบ้านเหมือนกับการได้ชีวิตใหม่ ป้าสายลมและสามีสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น ไม่ต้องคอยระแวงถึงอุบัติเห็นที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทรุดโทรมของบ้าน ซึ่งสิ่งนี้แหละที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยตรง

แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมอบสิทธิการยื่นคำร้องเพื่อปรับที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุแล้ว แต่ยังขาดการบูรณาการระหว่างบริการทางสุขภาพและสังคมในหลายด้าน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายในวงกว้าง อีกทั้งยังมีข้อจำกัดทางงบประมาณในทางปฏิบัติ ทั้งค่าแรงช่าง ค่าวัสดุ ไปจนถึงระยะเวลาที่ใช้ในการปรับปรุง ทำให้ในหนึ่งปีมีบ้านที่ได้รับบริการเพียงไม่กี่หลังจากจำนวนกว่า 30–40 หลังต่อปี

จากการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง ข้อจำกัดทางงบประมาณ ระยะเวลาการให้บริการที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งอำนาจหน้าที่ และ งบประมาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำมาสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบริการทางสังคมอย่างเป็นระบบมากขึ้น

‘บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน’ ทำอย่างไรให้การสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมได้อย่างมีความสุข ไม่เป็นเพียงแค่ฝันกลางวันของคนไทย

หากบ้านเดิมของเราน่าอยู่ คงไม่มีใครอยากย้ายถิ่นที่อยู่ในช่วงบั้นปลายชีวิต เพราะการย้ายที่อยู่สร้างความเปราะบางทางสภาพอารมณ์ ความไม่คุ้นชินทำให้ขาดความรู้สึกปลอดภัยในการใช้ชีวิต เช่นนั้นแล้วการพัฒนาบริการที่ต้อบสนองความต้องการปรับบ้าน และการปรับบทบาทการทำงานขององค์กรภาครัฐส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่บ้าน สองสิ่งนี้จะช่วยลดช่องว่างการเข้าถึงบริการของผู้สูงวัยในทุกหลังคาเรือนที่ต้องการเข้าถึงบริการปรับบ้านตามสิทธิที่พวกเขามีได้

จากปัญหาที่ประชาชนไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์ถึงโครงการที่มี และจำนวนผู้เข้ารับบริการปรับที่ต่ำกว่าจำนวนที่ตั้งและคาดหวังไว้ ความท้าทายที่เป็นอุปสรรคให้สังคมไทยยังไปไม่ถึงการมีระบบบริการที่เอื้อให้สูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมได้ถูกแยกย่อยออกมาดังนี้

  • การพัฒนาชุดบริการสำคัญที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม (Aging in Place)
  • การปรับการจัดการและบทบาทการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่บ้านที่เหมาะสมกับบริบทของไทย

เราพบว่าต้องมีการพัฒนาในสองสิ่งนี้ไปพร้อม ๆ กันเพื่อพัฒนาระบบบริการแก้ไขปัญหาเพื่อตอบโจทย์ชีวิตผู้สูงวัย และการพูดคุยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านกระบวนการหารือนโยบายกว่า 5 ครั้งในปี พ.ศ. 2563–2564 โดยเราได้ลงไปพูดคุยกับกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย

  • เปิดเวทีพูดคุยเพื่อรับฟังและทำความเข้าใจในบริบทการใช้ชีวิต ความต้องการของผู้สูงอายุ กับตัวแทนกลุ่มผู้สูงอายุในวัย 60–75 ปี ที่ยังไม่มีภาวะพึ่งพิงทางสุขภาพจำนวน 9–12 คน
  • ทำความเข้าใจแนวทางการดูแลผู้สูงอายุและบทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ โดยครั้งที่ 2 เราได้พูดคุยกับตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเลือกจากการหาข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุอย่างเข้มแข็งหรือมีอยู่บ้าง
  • ชวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในฐานะผู้ให้บริการ ผู้สูงอายุ นักวิชาการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากหลายพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการให้ผู้สูงอายุ เพื่อร่วมหารือการพัฒนาชุดบริการและโมเดลการจัดการในระดับพื้นที่เพื่อส่งเสริมการชราในถิ่นที่อยู่เดิม
  • ชวนตัวแทนจากองค์กรที่มีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุ โดยเฉพาะงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ และเป็นกลุ่มที่จะมีบทบาทต่อการปรับหรือขับเคลื่อนแนวคิด Aging in Place เชิงนโยบายได้ เพื่อหารือบทบาทภาครัฐในการสนับสนุนให้เกิดบริการสำหรับรองรับการสูงวัยในถิ่นที่อยู่เดิม ผ่านการพิจารณาตัวอย่างการจัดบริการที่มีในปัจจุบัน
  • ชวนตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน หน่วยงานราชการ (กรมกิจการผู้สูงอายุและกระทรวงมหาดไทย) นักวิชาการ และตัวแทนจากสสส. เพื่อหารือบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนบริการเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถสูงวัยในถิ่นที่อยู่เดิม

จากทั้งหมด 5 การหารือเราได้ข้อสรุปออกมาในรูปแบบของ ‘ข้อเสนอ’ ต่อทั้ง 2 ประเด็นหลัก โดยสำหรับ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาข้อเสนอพัฒนานโยบายสามารถศึกษาต่อได้ที่นี่

และนอกจากประเด็นด้านนโยบายเรายังได้เปิดโอกาสการเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ คลายข้อสงสัยระหว่างหน่วยงานกลางและท้องถิ่น ยิ่งไปกว่านั้นคือการที่ผู้เข้าร่วม ซึ่งก็คือตัวแทนหน่วยงานภาครัฐมีความสนใจในประเด็นการสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม อยากผลักดันต่อ เพื่อพัฒนาบทบาทในการส่งเสริมงานด้านนี้ และที่สำคัญที่สุดคือเราได้รับรู้เรื่องราว หัวข้อ ประเด็นที่น่าสนใจเพื่อนำไปศึกษาวิจัยต่อเพื่อช่วยพัฒนากำหนดกรอบนโยบายต่อไป

และต่อจากการหารือทั้ง 5 ครั้ง ในปี 2565 นี้เราได้เพิ่มความเข้มข้นของการพัฒนานโยบายในส่วนนี้ ด้วยการนำกระบวนการใหม่อย่าง Policy Prototyping เข้ามาช่วยเพื่อให้มุ่งเป้าปัญหา บริบทการทำงานของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้มากขึ้น เพื่อผลักดันให้ ‘การสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม’ ไม่เป็นเพียงฝันกลางวัน

เรียบเรียงโดย พรพิชชา ตันตระวาณิชย์

ศึกษาเรื่องราวกระบวนการการหาคำตอบ เพื่อพัฒนานโยบายและบริการปรับบ้านให้ตอบโจทย์บริบทสังคมไทยมากขึ้น
https://policy-dialogue.riseimpact.co/project/aip

เรื่องราวการปรับบ้านที่มอบชีวิตใหม่ให้กับผู้สูงวัย — ผู้สูงอายุ กับการปรับสภาพบ้านที่สร้างชีวิตใหม่
https://riseimpact.medium.com/ผู้สูงอายุ-กับการปรับสภาพบ้านที่สร้างชีวิตใหม่-b4485fea0544

--

--