Tell Them What You Do: เพราะการเล่าเรื่องเพื่อสื่อสาร นั้นมากกว่าการพูดในสิ่งที่รู้ และนี่คือสิ่งที่คุณควรทำเพื่อเล่าเรื่องยากให้น่าสนใจ

RISE IMPACT
Jun 21, 2023

--

การเล่าเรื่องเพื่อสื่อสาร นั้นเป็นมากกว่าการพูดในสิ่งที่รู้
แม้ผู้ประกอบการมากด้วยสบการณ์และความรู้ รวมถึงประสบความสำเร็จในงานที่ทำ แต่การจะสื่อสารออกมาส่งต่อให้ผู้ฟังเข้าใจและเห็นภาพชัดเจนนั้น กลับไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ ก็ทำได้

.

การได้พูดคุยกับคุณ Leah Tivoli ผู้นำหญิงคนเก่งแห่งทีม Innovation and Performance ประจำเทศบาลเมืองซีแอตเทิล ได้จุดประกายมาถึงทีมไรซ์ อิมแพค พวกเราได้มองเห็นความสามารถความสามารถอันน่าทึ่งและจำเป็นในยุคสมัยใหม่ ของคุณลีอา นั่นคือการสื่อสารให้ได้ประเด็นผ่านเรื่องเล่า อย่างที่หลาย ๆ คนได้ทราบการทำงานของทีม IP ผ่านบทความถอดบทเรียนที่เราได้เคยนำเสนอไป จะเห็นได้ว่าทีมของเธอต้องประสานงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและนอก

.

การพูดที่ดีมาจากการวางแผนที่ดี

I: ‘รู้ให้รอบ’

ต้องรู้ว่าผู้ฟังของเราในห้องนั้น ในวาระประชุมนั้นคือใคร รู้ว่าเขารู้และอยากที่จะรู้อะไรเพิ่มจากการฟัง พร้อมทั้งคาดการณ์ไปถึงว่าเมื่อเราพูดจบเขาจะได้รับ และมีฟีดแบคสู่เราไปในทิศทางไหนหรือมีประเด็นอะไรที่อาจจะต้องขยายเพิ่มเติม

.

II: เริ่มจากปัญหาที่พบเจอ เพราะมีแค่คุณ ที่รู้เรื่องตนเองดีที่สุด

การเล่าเรื่องที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ดีคือการเริ่มให้ถูกจุด — ก่อนจะไปถึงวิธีการการแก้ไข หรือก้าวข้ามผ่านอุปสรรคคุณจำเป็นต้อง ‘เปิดเผย’ ในปัญหาที่คุณพบเจออย่าไปอาย หรือซ่อนปัญหาไว้ใต้พรม คุณต้องกล้าที่จะยอมรับและบอกเล่าเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจในจุดที่คุณยืนอยู่ ณ เวลาเหล่านั้น

.

III: ‘How Might We’ Framework

โดยปกติแล้วกรอบการทำงาน HMW นี้จะถูกใช้เพื่อหาทางออกของปัญหาด้วยการตั้งคำถามที่เป็นไปได้ขึ้นมา หรือหาว่าอะไรคืออุปสรรคที่อาจขัดขวางเราอยู่

สิ่งนี้สำคัญมาก ๆ ซึ่งคุณลีอาได้นำขั้นตอนนี้เข้ามาประสมใส่ลงในการเล่าเรื่อง ทำให้เรามองเห็นภาพการทำงานจริงได้ชัดมากขึ้น ว่ากว่าจะพบเจอกระบวนการแก้ไขในประเด็นเฉพาะ การตั้งคำถามหรือลองคิดลองหาความเป็นไปได้แบบไหนที่มัน ‘เวิร์ค’ เพื่อให้ผู้ฟังได้ย้อนมองถึงงานหรือโครงการของตัวเองและมองหาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาต่อ

.

IV: ถ่ายทอดปราณและกระบวนการสู่ผู้ฟัง

Solution หากแปลเป็นไทยแบบทื่อ ๆ ว่าวิธีแก้ปัญหาคงฟังดูไม่เท่เท่าไร แต่เมื่อเป็น ‘ปราณ’ อาจช่วยให้คุณวางแผนการเล่าเรื่อง หรือจินตนาการความยากลำบากที่ผ่านมาได้ชัดขึ้น

เพราะมันมากกว่าวิธีการตายตัวแต่คือการถ่ายทอดสิ่งที่คุณต้องใช้ไปเพื่อให้ได้ทางออกที่มีประสิทธิภาพที่เข้าขั้นพอจะแก้ปัญหา คุณและทีมอาจต้องใช้แรงกาย หยาดเหงื่อ หรือยาพาราแก้ปวดหัว เพื่อให้ได้มันมาดังนั้นจงเล่ามันออกไปเพื่อจับใจผู้ฟังให้ได้มากที่สุด

.

V: ผลลัพธ์ก็เหมือนพระเอกของเรื่อง

แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบอาจเป็น click-bait ที่เยี่ยมยอดสำหรับการดึงดูดผู้ฟัง แต่ในแง่ของการทำงานจริงนั้น ไม่ใช่ทุกงานที่จะสร้างผลลัพธ์ไร้ที่ติ ไม่ว่าผลจะเป็นเช่นไร ลองเล่าออกไปแบบเท่าเทียมทั้งสิ่งที่ ‘เวิร์ค’ และไม่

ยกตัวอย่างเช่น จำนวนผู้คนจากการเข้าร่วมงกระบวนการรับฟังแลกเปลี่ยนอาจไม่สูงเท่าที่คาดหวัง แต่นี่แหละคือ ‘ผลลัพธ์ที่แท้จริง’ เพราะมันได้สะท้อนสิ่งที่เราต้องเก็บมาเป็นบทเรียนเพื่อพัฒนาต่อ นี่จึงเป็นอีกสิ่งที่เราเชื่อว่าผู้ฟังจะได้รับเกร็ดความคิดเล็กน้อยเพื่อนำไปเป็นแรงบันดาลใจ ต่อยอดธุรกิจหรือโครงการในอนาคตอย่างแน่นอน

.

อ้างอิง

เนื้อหาบางส่วนจาก How the Best Nonprofits Launch, Scale up, and Make a Difference โดย Kathleen Kelly Janus

.

เขียนและเรียบเรียง: พรพิชชา ตันตระวาณิชย์

--

--

RISE IMPACT
RISE IMPACT

No responses yet