Case study: รัฐวิคทอเรีย กับแผนปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี 2021–2051 ที่จะพัฒนาชุมชนเมืองและความเป็นอยู่ของ ‘ทุกคน’ ให้ดีขึ้น [Part 2]

RISE IMPACT
1 min readOct 10, 2023

--

[Brief] อะไรคือแผนปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี และหลัก Density Done Well ?

Infrastructure Victoria หน่วยงานที่ปรึกษาอิสระจัดตั้งขึ้นโดยรัฐวิคทอเรีย เพื่อทำกระบวนการจัดลำดับความสำคัญและความต้องการของการปรับแผนโครงสร้างพื้นฐาน โดยมอบหมายให้ Jetty Research (ปัจจุบันคือ Taverner Research Group) จัดหาพลเมืองเข้าร่วมกระบวนการผ่านการสุ่มเลือกและโฆษณาบนFacebook แบบกำหนดกลุ่มเป้าหมายรับสารเพื่อรับสมัครอาสาสมัคร

ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนที่มความเข้าใจในระดับปานกลางไปจนถึงเข้มข้นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน มีเป้าหมายเรื่องที่อยู่อาศัยในอนาคต มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม อายุ จากทั้งสามเขตชานเมือง ได้แก่ ไฮเดลเบิร์ก แคมเบอร์เวลล์ และฟุทสเครย์ ที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงเมือง รวมทั้งขนส่งสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในระดับดี

ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ 2 ขั้น (stage)
ขั้นแรก Deliberative focus group:
เริ่มด้วยกลุ่มสนทนาขนาดเล็กที่แบ่งสมาชิกชุมชนทั้งหมด 66 คนจากสามย่านชานเมืองข้างต้นเข้าร่วม ออกเป็น 6 กลุ่ม ทำความคุ้นเคยกับกระบวนการปรึกษาเพื่อวิเคราะห์นโยบาย แนะนำข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิคทอเรีย รู้จักหลักการที่นำมาใช้ตัดสินใจเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเชิงลึก และแลกเปลี่ยนความเห็นในหัวข้อ ‘อะไรคือ Density Done Well’ กระบวนการขั้นนี้เริ่มและจบลงในเดือนตุลาคม 2019

ขั้นที่สอง Deliberative workshop:
ผู้เข้าร่วมทั้ง 66 คนถูกเชิญเข้าประชุมเชิงปฏิบัติพร้อมกันครึ่งวัน ในเดือนพฤศจิกายน 2019 เพื่อคัดกรองความเห็นที่ผู้เข้าร่วมมีต่อคุณสมบัติของโครงสร้างพื้นฐาน-สิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการ และมีจุดร่วมผ่านการใช้เครื่องมือ ‘Poll Everywhere’ แพลตฟอร์มสำรวจความคิดเห็นออนไลน์และบนสมาร์ทโฟนตอบคำถาม เพื่อให้ได้คำตอบที่จะนำไปสรุปและเสนอแนะรัฐเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปีในท้ายที่สุด

กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ควรเหมาะสมกับกลุ่มผู้เข้าร่วม ไม่มีสูตรสำเร็จว่าใช้สิ่งไหนแล้วจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพที่สุด จึงต้องอาศัยทักษะและการเตรียมพร้อมก่อนเริ่มกระบวนการผ่านวิธีที่หลากหลายให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ตามที่ได้กล่าวไปในตอนที่ 1 นั้น ไรซ์อิมแพ็ค ในฐานะผู้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับข้อมูลและหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบนโยบายและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้คน

เราเองได้จัดทำเครื่องมือรวบรวมและสร้างความตระหนักรู้ผ่าน Public Engagement สำรวจความเห็นในวงกว้างในสองเรื่องต่อไปนี้ และได้เห็นความต้องการ ทัศนคติ ต่อเรื่องดังกล่าวของคนไทยกว่า 176 คน ซึ่งสมควรถูกนำไปผลักดันเชิงนโยบายต่อไป

การสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมอย่างมีสุขภาวะ (Aging In Place)
https://policy-dialogue.riseimpact.co/project/aip

ระบบบริการและการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia)
https://policy-dialogue.riseimpact.co/project/dmt

ในครั้งหน้าเราจะกลับมาพร้อมกับบทสรุปจากการมีส่วนร่วมเสนอแนะของชาวเมืองรัฐวิคทอเรีย ที่จะถูกเสนอเพื่อสร้างแผนปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี

Part1: แผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 2021–2051

Part3: บทสรุปจากกระบวนการปรึกษาหารือ

เขียนและเรียบเรียงโดย: พรพิชชา ตันตระวาณิชย์

ภาพประกอบโดย: ปพน ศิริมัย

Reference
1. Infrastructure Victoria (2023) Victoria’s 30-year infrastructure strategy update. Retrieved from https://www.infrastructurevictoria.com.au/project/30-year-strategy/?

2. Participedia (2022) Case: Infrastructure Victoria 30-Year Strategy 2021–2051. Retrieved from https://participedia.net/case/8434

--

--