Case study: รัฐวิคทอเรีย กับแผนปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี 2021–2051 ที่จะพัฒนาชุมชนเมืองและความเป็นอยู่ของ ‘ทุกคน’ ให้ดีขึ้น [Part 3]

RISE IMPACT
1 min readOct 10, 2023

--

[Brief] วิธีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมและกระบวนการปรึกษาหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มีร่วมกัน

หลังจากใช้เวลาถึงสี่สัปดาห์ในกระบวนการปรึกษาหารือขั้นแรกและอีกครึ่งวันในขั้นที่สอง ผู้เข้าร่วมกระบวนการได้ช่วยกันตกผลึกข้อสรุปที่ตอบรับหลักการ Density Done Well ที่เคยกล่าวไว้ในตอนที่ 1 ออกมาใน 9 ประเด็น

โดยเรียงลำดับจากสิ่งที่ผู้เข้าร่วมเห็นพ้องต้องกันว่าสำคัญมากสุด ได้แก่
✦ การออกแบบชุมชนเมืองอย่างมีคุณภาพ
✦ ขนส่งสาธารณะ
✦ ที่พักอาศัยมีคุณภาพและราคาที่เข้าถึงได้
✦ สภาพแวดล้อมสาธารณะที่ดี
✦ ถนนและทางเดินที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้า
✦ สถานที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้
✦ ชุมชนเมืองที่มีความปลอดภัย
✦ โครงสร้างพื้นฐานที่ทุกบุคคลสามารถเข้าถึงได้ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (inclusion)
✦ การออกแบบเมืองเพื่อใช้งานแบบผสมผสานควบรวมความหลากหลาย (mix of uses and diversity of things to do)

จากข้อมูลล่าสุดทาง Infrastructure Victoria ได้รับคำแนะนำสุทธิ 94 ข้อ โดย 53 ข้อจะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบาย และ 41 ข้อต้องอาศัยเงินลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานจากรัฐบาล

คำแนะนำเหล่านี้ได้ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามวัตถุประสงค์ได้แก่ 1)เตรียมความพร้อมเผชิญความท้าทายระยะยาว 2)เพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเมือง 3)เพื่อควบคุมการผลิตและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 4)มุ่งพัฒนาภูมิภาคของรัฐวิคทอเรีย และแผนปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี ฉบับสมบูรณ์ได้ถูกยื่นเข้าสู่รัฐสภาวิคทอเรียเมื่อกลางปี 2021

ผู้จัดกระบวนการสังเกตเห็นว่ากระบวนการขั้นที่ 2 deliberative workshop ที่ผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้เจอหน้าและแลกเปลี่ยนกันหลังจบขั้นแรก ทุกคนกลับมาพร้อมข้อมูลที่เป็นประโยชน์และแบ่งปันสิ่งที่ได้พูดคุยในกลุ่มย่อย ส่งเสริมให้การทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาและทบทวนความเห็นที่ทุกคนมีต่อหลัก Density Done Well ได้ดีขึ้น

เป็นเรื่องที่น่ายินดีกับประชาชนอาศัยในรัฐวิคทอเรีย ที่ภาครัฐมีแผนปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานจากการรับฟังข้อเสนอแนะและปรับเปลี่ยนนโยบายที่อ้างอิงจากความต้องการของพลเมืองโดยแท้จริง สิ่งนี้ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะสิ้นหวังกับการพัฒนาซะทีเดียว เพราะภาคเอกชนอย่าง ไรซ์อิมแพ็ค ยังคงมุ่งสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมออกแบบโยบายผ่าน Policy Dialogue ที่ดำเนินการโดยมีเป้าหมายพัฒนาแก้ไขปัญหาสังคม

ในหนึ่งปีที่ผ่านมาไรซ์อิมแพ็คได้ร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) พัฒนานโยบายเพื่อผู้สูงวัย และได้ผลลัพธ์ครอบคลุมถึง 7 ประเด็นสำคัญ จากการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมที่มีความหลากหลายกว่า 400 คน แม้ผลลัพธ์เชิงนโยบายเป็นเรื่องระยะยาวที่ต้องผลักดันต่อ ซึ่งเรายังคงทำอย่างต่อเนื่อง แต่ผลลัพธ์ระยะสั้นได้ปรากฎขึ้น

เชื่อว่าหลายคนอาจสงสัยว่าเสียงที่เราส่งออกไปจะได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไหม นี่คือประเด็นที่เราเองได้ให้ความสนใจจนเกิดวงหารือเรื่อง ‘กลไกติดตามและพัฒนานโยบายเพื่อสังคมสูงวัย’ หรือ Governing Mechanism (GM) ที่มีสมาชิกผู้แทนราษฎรเข้าร่วม สร้างคุณค่าระหว่างกระบวนการเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างภาครัฐด้วยกันเอง และผลลัพธ์หลังกระบวนการคือการผลักดันเชิงนโยบายอย่างต่อเนื่องที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งได้เห็นการนำเสนอข่าวสารเพิ่มมากขึ้นในเว็บไซต์กรมกิจการผู้สูงอายุ

เขียนและเรียบเรียงโดย: พรพิชชา ตันตระวาณิชย์

ภาพประกอบโดย: ปพน ศิริมัย

Reference
1. Infrastructure Victoria (2023) Victoria’s 30-year infrastructure strategy update. Retrieved from https://www.infrastructurevictoria.com.au/project/30-year-strategy/?

2. Participedia (2022) Case: Infrastructure Victoria 30-Year Strategy 2021–2051. Retrieved from https://participedia.net/case/8434

--

--