Sustainability Series: แฟชั่นโก้เก๋ มาไวไปไวแต่ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้ยาวนาน

สายน้ำฉ่ำเย็น แต่อันตรายล้ำลึก พลาสติกได้แทรกซึมเข้าสู่ทุกอณูในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกหลากหลายประเภท ทั้งใส่อาหาร ใส่ข้าวของเครื่องใช้ ในหมวดหมู่นี้ก็แยกออกได้อีกว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หรือเป็นจำพวกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (sigle-used plastics) ที่สร้างขยะพลาสติกนำไปสู่มลพิษทางสิ่งแวดล้อมให้กับโลกของเรา บางคนอาจใช้พลาสติกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะพลาสติกนั้นถูกนำมาแปรเปลี่ยนสภาพเข้ากับวัสดุหรือวัตถุดิบอื่น ๆ อาทิ ผ้าโพลีเอสเตอร์ (Polyethylene terephthalate) ที่ถูกนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ อาทิ เสื้อและกางเกงสำหรับออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา และยังนำไปผลิตเป็นผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดร่างกาย รถ และอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างผ้าไมโครไฟเบอร์ ซึ่ง…

Sustainability Series: แฟชั่นโก้เก๋ มาไวไปไวแต่ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้ยาวนาน
Sustainability Series: แฟชั่นโก้เก๋ มาไวไปไวแต่ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้ยาวนาน

Policy Innovation แนวคิดเพื่อพัฒนาบริการสาธารณะให้ตรงกับความต้องการของประชาชน [Part 3: กระบวนการทำงานออกแบบนโยบายที่ช่วยให้มองได้กว้างครอบคลุมรอบด้าน]

แนวคิด Design for Policy และ Systems Thinking การคิดเชิงระบบ- Systemic Design ออกแบบเชิงระบบ ถูกนำมาใช้เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่านโยบายที่ถูกสร้างออกมาจะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมและสนับสนุนการทำงานของนวัตกรรมสาธารณะได้ดีกว่าเดิม I: แนวคิด Design for Policy ทำกระบวนการออกแบบ โดยยึดผู้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนานโยบาย เชื่อมผู้คนและปัญหาเข้าหากัน ทำให้ ผู้คน — ประชาชน กลายเป็นผู้ร่วมออกแบบ และร่วมกันพัฒนาทางแก้ปัญหา ไม่ใช่เพียงผู้รับผลของนโยบาย

Policy Innovation แนวคิดเพื่อพัฒนาบริการสาธารณะให้ตรงกับความต้องการของประชาชน [Part 3…
Policy Innovation แนวคิดเพื่อพัฒนาบริการสาธารณะให้ตรงกับความต้องการของประชาชน [Part 3…

เสียงดนตรีแห่งการปลดแอกตัวตน ที่มอบบทเรียนให้กับ เม-ศิรษา ผู้ร่วมก่อตั้ง Hear & Found ธุรกิจเพื่อสังคม

เสียงและดนตรีสามารถสะท้อนวัฒนธรรม หรือตัวตนผ่านการสื่อสารหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ การขับร้อง การเล่นเครื่องดนตรีของคนกลุ่มหนึ่ง ในขณะเดียวกัน สรรพเสียงเหล่านี้ ก็ไร้เขตแดนในการรับรู้ และยังสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างกลุ่มคนในสังคมที่มีวัฒนธรรมต่างกัน โดยเฉพาะดนตรี ยกตัวอย่างเช่น คนไทยก็รับรู้และมีประสบการณ์ร่วมไปกับเพลงสากลได้ไม่ว่าเพลงนั้นจะอยู่ในภาษาใด อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งดนตรีจาก ‘กลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง’ ในประเทศไทยที่อัตลักษณ์ของพวกเขาได้ถูกเล่าขานผ่านเสียงดนตรี เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของตนเองทั้งในเชิงความเป็นอยู่ กิจกรรมรวมใจคนในชุมชน หรือการสื่อสารเพื่อปลดแอกตัวเองจากตัวตนที่โดนกดทับจากสิ่งที่คนในสังคมต้องการให้เป็น…

เสียงดนตรีแห่งการปลดแอกตัวตน ที่มอบบทเรียนให้กับ เม-ศิรษา ผู้ร่วมก่อตั้ง Hear & Found…
เสียงดนตรีแห่งการปลดแอกตัวตน ที่มอบบทเรียนให้กับ เม-ศิรษา ผู้ร่วมก่อตั้ง Hear & Found…

Case study: รัฐวิคทอเรีย กับแผนปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี 2021–2051 ที่จะพัฒนาชุมชนเมืองและความเป็นอยู่ของ ‘ทุกคน’ ให้ดีขึ้น [Part 3]

[Brief] วิธีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมและกระบวนการปรึกษาหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มีร่วมกัน หลังจากใช้เวลาถึงสี่สัปดาห์ในกระบวนการปรึกษาหารือขั้นแรกและอีกครึ่งวันในขั้นที่สอง ผู้เข้าร่วมกระบวนการได้ช่วยกันตกผลึกข้อสรุปที่ตอบรับหลักการ Density Done Well ที่เคยกล่าวไว้ในตอนที่ 1 ออกมาใน 9 ประเด็น โดยเรียงลำดับจากสิ่งที่ผู้เข้าร่วมเห็นพ้องต้องกันว่าสำคัญมากสุด ได้แก่ ✦ การออกแบบชุมชนเมืองอย่างมีคุณภาพ ✦ ขนส่งสาธารณะ ✦ ที่พักอาศัยมีคุณภาพและราคาที่เข้าถึงได้ ✦ สภาพแวดล้อมสาธารณะที่ดี ✦ ถนนและทางเดินที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้า ✦ สถานที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้ ✦ ชุมชนเมืองที่มีความปลอดภัย ✦ โครงสร้างพื้นฐานที่ทุกบุคคลสามารถเข้าถึงได้ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (inclusion) ✦ การออกแบบเมืองเพื่อใช้งานแบบผสมผสานควบรวมความหลากหลาย (mix of uses and diversity of things to do)…

Case study: รัฐวิคทอเรีย กับแผนปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี 2021–2051…
Case study: รัฐวิคทอเรีย กับแผนปรับปรุงยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี 2021–2051…

Case study: รัฐวิคทอเรีย กับแผนปรับปรุงกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี 2021–2051 ที่จะพัฒนาชุมชนเมืองและความเป็นอยู่ของ ‘ทุกคน’ ให้ดีขึ้น [Part 1]

ประเทศออสเตรเลีย จุดหมายปลายทางที่คนไทยสนใจเดินทางไป Work and Holiday ทำงานประจำ ศึกษาต่อหรือแม้กระทั่งใช้ช่วงบั้นปลายชีวิต รู้หรือไม่ว่าภาพรวมของบ้านเมืองที่น่าอยู่และมีผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี เกิดขึ้นได้จากหลัก Density Done Well วางแผนและออกแบบเพื่อสร้างเมืองที่ดีพร้อมสำหรับการขยายตัวของจำนวนประชากรในรุ่นต่อไป รัฐวิคทอเรียมีประชากรมากเป็นอันดับสองในออสเตรเลีย นับเพียงประชากรในเมลเบิร์นเมืองหลวงของรัฐคิดเป็นกว่า 19.05% ของประชากรทั้งหมดในปัจจุบัน และคาดการณ์ว่าจะกลายเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของออสเตรเลียในอนาคต จากอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปีแซงหน้าเมืองซิดนีย์ไปแล้ว

Case study: รัฐวิคทอเรีย กับแผนปรับปรุงกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี 2021–2051…
Case study: รัฐวิคทอเรีย กับแผนปรับปรุงกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐาน 30 ปี 2021–2051…

บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน: ทำอย่างไรให้การสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมได้อย่างมีความสุข ไม่เป็นเพียงแค่ฝันกลางวันของคนไทย [Part2/2]

ตอนที่ 1: บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน Part1/2 ถ้าจะสูงวัยในบ้านเดิมล่ะ เป็นไปได้ไหม? “เกือบจะหมดหวังไปแล้ว” “ดีมาก ปรับแล้วดีมากๆ เหมือนเกิดใหม่” - คุณป้าสายลมกล่าว นี่คือส่วนหนึ่งจากการพูดคุยในเรื่องการเข้ารับบริการปรับบ้านกับคุณป้าสายลม จากบทความสัมภาษณ์ ‘ผู้สูงอายุ กับการปรับสภาพบ้านที่สร้างชีวิตใหม่’ สะท้อนให้เห็นว่าการปรับบ้านเหมือนกับการได้ชีวิตใหม่ ป้าสายลมและสามีสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น ไม่ต้องคอยระแวงถึงอุบัติเห็นที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทรุดโทรมของบ้าน…

บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน: Part 2/2
บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน: Part 2/2

บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน: ทำอย่างไรให้การสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมได้อย่างมีความสุข ไม่เป็นเพียงแค่ฝันกลางวันของคนไทย [Part1/2]

สังคมมีความพร้อมสำหรับกลุ่มประชากรผู้สูงวัยมากน้อยขนาดไหน? จำเป็นไหมว่าแก่ตัวไปต้องเข้าใช้บริการบ้านพักคนชราอย่างที่ใครเขาว่ากัน? และถ้าหากว่าเราอยากสูงวัยในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม ไม่อยากเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางสังคมและชุมชนในตอนที่แก่ตัวลงไป เราสามารทำและรับบริการอะไรได้บ้างเพื่อแก่ตัวในบ้านเดิมอย่างมีสุขภาวะที่ดี ในมุมมองของการอนุรักษ์ “ผู้สูงวัย” พวกเขาคือผู้สะสมภูมิปัญญา ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่มีคุณค่าทางจิตใจและสังคมในแบบเฉพาะที่สามารถถ่ายทอดส่งต่อถึงกันได้ในมนุษย์เท่านั้น

บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน: Part 1/2
บ้านเดิมของเราน่าอยู่ ผู้สูงวัยสุขใจทุกคน: Part 1/2

Breadwinners: ร้านขนมปังแผงลอยที่อบอวลไปด้วยความหวังแห่งการเติบโตจากกลุ่มผู้ลี้ภัยเยาวชน

ชวนทำความรู้จักและเรียนรู้โมเดลธุรกิจจาก Breadwinners ร้านขนมปังที่มุ่งเพิ่มพูนทักษะทางอาชีพให้กับผู้ลี้ภัยเยาวชนเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานที่ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตและที่อยู่อาศัย ที่สำคัญพวกเขาได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างอิมแพคแห่งการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้จริงพร้อมรางวัลการันตี Prove It Social Impact จาก Social Enterprise UK ประจำปี 2022 และอีกหลายรางวัล อะไรคือกุญแจความสำเร็จที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จจากโมเดลธุรกิจร้านขายขนมปังที่ถูกอบให้ขึ้นฟูจากความหวังของกลุ่มเยาวชนที่ต้องระหกระเหินลี้ภัยมายังสหราชอาณาจักร เกิดเป็นขนมปังก้อนที่อัดแน่นไปด้วยความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เราถอดบทเรียนโดยใช้ Impact Indicators เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในอังกฤษที่เป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ Breadwinners สำรวจกิจกรรมทางการขาย และการตลาดเพื่อให้มุ่งไปสู่เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงในระยะยาว…

Breadwinners: ร้านขนมปังแผงลอยที่อบอวลไปด้วยความหวังแห่งการเติบโตจากกลุ่มผู้ลี้ภัยเยาวชน
Breadwinners: ร้านขนมปังแผงลอยที่อบอวลไปด้วยความหวังแห่งการเติบโตจากกลุ่มผู้ลี้ภัยเยาวชน